สมาชิกในกลุ่ม

1 ฉัตรมงคล กระเเสโสม



2 ธนิต สหุตนัย



3 อภิกิตต์ กิ่งเเก้ว



วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หัวขอโปรเจ็คไปรษณีย์ไทยในยุคไอที

คลิดครับ
ประวัติแสตมป์ไทย
นับย้อนหลังไปประมาณ 100 ปี การส่งข่าวสารเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะการคมนาคมยังไม่สะดวก การติดต่อระหว่างเมือง ประชาชนต้องฝากข่าวสารไปกับผู้เดินทาง ซึ่งทำให้เสียเวลาและล่าช้ามาก ต่อมาประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น จึงมีการจัดตั้งสถานกงสุลขึ้นในกรุงเทพ ฯ สถานกงสุลอังกฤษได้ริเริ่มการไปรษณีย์กับต่างประเทศในปี พ.ศ. 2418 โดยการรับฝากจดหมาย หรือหนังสือจากประเทศไทย ไปยังที่ทำการไปรษณีย์ที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อส่งไปยังจุดหมายปลายทาง โดยใช้ตราไปรษณีย์ ซึ่งนำมาจากสิงคโปร์ พิมพ์อักษรคำว่า “ B “ ลงบนตราไปรษณียากรนั้น แทนคำว่า “ BANGKOK “ ผนึกทับบนจดหมาย หรือหนังสือเพื่อฝากส่งไปกับเรือพาณิชย์ แต่กิจการดังกล่าวได้ยกเลิกไปเมื่อเริ่มมีบริการไปรษณีย์ของสยามอย่างเป็นทางการ
ในระยะเดียวกับที่สถานกงสุลอังกฤษริเริ่มการไปรษณีย์กับต่างประเทศนั้น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช กับเจ้านายกลุ่มหนึ่ง ได้ร่วมกันออกหนังสือพิมพ์รายวันชื่อ "ข่าวราชการ" ( COURT ) ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ให้ความสนใจมาก จึงทำให้ต้องมีคนเดินส่งหนังสือแก่สมาชิกทุกเช้า ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จึงได้ทรงจัดพิมพ์ " ตั๋วแสตมป์ " เพื่อใช้เป็นค่าบริการส่งหนังสือพิมพ์ ซึ่งต่อมาแสตมป์ได้ขยายไปถึง การเดินส่งจดหมายแก่สมาชิกด้วย โดยตั๋วแสตมป์ 1 ดวง แทนราคา 1 อัฐ แต่ตั๋วแสตมป์ดังกล่าวไม่มีตัวอักษร หรือเลขหมายบอกราคาไว้
ประมาณกลางปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราช ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้พระองค์ทรงจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทย ปรากฏว่าพระองค์มีพระดำริเห็นชอบ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุ รังษีสว่างวงศ์ ทรงเตรียมจัดตั้งการไปรษณีย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2424 จนถึง วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์และโทรเลขขึ้น โดยให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยให้ใช้อาคารริมแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือ ปากคลองโอ่งอ่าง เป็นสถานที่ทำการแห่งแรก และเรียกอาคารหลังนี้ว่า “ไปรษณียาคาร“ และได้สั่งพิมพ์ตราไปรษณียากร จาก บริษัท WATERLOW AND SOWS LONDON มาเพื่อเตรียมใช้งาน 6 ชนิดราคา คือ โสฬส อัฐ เสี้ยว ซีก เฟื้อง สลึง โดยเรียกแสตมป์ชุดนี้ว่า “ ชุดโสฬส “ แสตมป์ชุดแรกนี้ เป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผินพระพักตร์เบื้องซ้ายภายในกรอบรูปไข่ เริ่มออกจำหน่าย วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ปัจจุบันถือว่าเป็นแสตมป์ที่หายากมากและราคาแพงลิบลิ่วทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามการที่แสตมป์ดวงใดจะทรงคุณค่า ไม่ได้อยู่ที่ความเก่าแก่อย่างเดียว แต่อาจขึ้นอยู่กับจำนวนพิมพ์น้อย หายาก และเป็นที่สนใจของนักสะสม
ในปัจจุบันแสตมป์ไทยได้พัฒนาเท่าเทียมกับอารยะประเทศ มีนักออกแบบบางคนพยายามสร้างผลงานของตนเอง โดยยึดหลักรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย.

บรรณานุกรม
การสื่อสารแห่งประเทศไทย. 100 ปีการไปรษณีย์ไทย กรุงเทพมหานคร : 2526.
จุมพล เหมะคีรินทร์ “ เรื่องน่ารู้บนดวงแสตมป์ “ รู้รอบตัว ฉ.11 ( พ.ย. 2528 ) 19 – 28
“ แสตมป์ดวงแรกของโลก แสตมป์ดวงแรกของไทย “ มติชน 16,5677 ( 24 ก.ย. 36 ) หน้าพิเศษ 1

ที่มา http://www.mict.go.th/ewt_news.php?nid=1241&filename=index

1 ความคิดเห็น:

  1. ครูปรับหัวข้อให้ทันสมัยขึ้น แก้ไขตามด้วยนะคะ

    ตอบลบ